พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองน่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

ตั้งแต่แรกเมื่อก่อนที่ดินแห่งนี้เคยเป็นที่ดินเก่าของ เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย บุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงไม้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินทั้งหมดให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ปีพุทธศักราช 2475 ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารหอคำ เพื่อให้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2517 และประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2528 อย่างเป็นทางการ เรียกว่า "หอคำ" ภายในจัดแสดง ศิลปะ โบราณวัตถุ ต่างๆ ประวัติศาสตร์ และชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวพื้นเมืองภาคเหนือ และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือ "งาช้างดำ" ซึ่งไม่ทราบประวัติความเป็นมา สันนิษฐานว่า เป็นงาข้างซ้าย มีสีน้ำตาลเข้มไปทางดำ มีรูปลักษณะเป็นงาปลียาว 94 เซนติเมตร หนัก 48 กิโลกรัม หากมีความต้องการจะเดินทางมาเที่ยวจังหวัดน่าน จะพลาดไม่ได้เด็ดขาดเนื่องจาก งาช้างดำนี้ถือเป็นของคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านเลยครับ ซึ่งแน่นอนว่าภายในจะแบ่งให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมกัน

1.ห้องโถงใหญ่ เคยเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการของเจ้าผู้ครองนคร จัดแสดงข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์ของจังหวัดน่าน การสร้างบ้านแปงเมือง หลักฐานศิลาจารึก ลำดับเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนคร เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ภาพถ่ายโบราณ เงินตราและอาวุธ

2.ห้องปีกอาคารและเฉลียง จัดแสดงเรื่องราวด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดน่าน แหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุจากการขุดค้นในพื้นที่เก็บกักน้ำบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาในจังหวัดน่าน ศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนาที่ก่อให้เกิดแนวคิดงานศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่าน

3.ห้องจัดแสดงงาช้างดำ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่านมาแต่โบราณ

ชั้นล่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ห้องโถง จัดแสดงเรื่องราวด้านชาติพันธุ์วิทยา เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของภาคเหนือ มีการจำลองลักษณะบ้านเรือน ร้านน้ำ ห้องนอน ครัวไฟ เครื่องใช้ชีวิตประจำวัน การทอผ้าและตัวอย่างผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องประเพณีความเชื่อ การแข่งเรือยาว และงานสงกรานต์ เป็นต้น 2.เฉลียงด้านหลังและปีกอาคาร จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าชนต่างๆ ในจังหวัดน่าน อาทิ ไทลื้อ แม้ว เย้า ชนเผ่าตองเหลือง สุดท้ายเป็นห้องที่ระลึกและห้องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติชาวจังหวัดน่าน

สำหรับการเข้าชม จะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวัน

ยกเว้นวันจันทร์และวันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Nan national Museum และสามารถไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ museumthailand และ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน และที่พลาดไม่ได้สำหรับทุกท่านที่มีความสนใจต้องการมาเที่ยวจังหวัดน่านกำลังมองหาบริการรถตู้นำเที่ยวที่จังหวัดน่านอยู่สามารถติดต่อทีมงาน เพื่อสามารถพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวได้นะครับยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านทั้งการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยว จะเดินทางที่ไหน ไว้ใจทีมงานรถตู้ที่น่านพาทุกท่านเที่ยวปลอดภัยครับผม